Playboy Bunny

วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เรื่องหัวใจชายหนุ่ม

ประวัติผู้แต่งเรื่องหัวใจชายหนุ่ม
พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๖ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น ๒ ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ ๑ มกราคม พ.. ๒๔๒๓ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๒๙ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าองค์ที่ ๒ ในจำนวน ๙ พระองค์ที่ประสูติแต่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง พระราชสมภพเมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.. ๒๔๒๓ ณ พระที่นั่งในพระบรมมหาราชวังชั้นใน มีพระเชษฐภคินีและพระอนุชาร่วมพระมารดา คือ

. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัยกรมพระเทพนารีรัตน์(..๒๔๒๑-๒๔๓0)
. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (..๒๔๒๓-๒๔๖๘)
. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรง (..๒๔๒๔-๒๔๓0)
. จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ (..๒๔๒๕-๒๔๖๓)
. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ (.. ๒๔๒๘-๒๔๓0)
. พลเรือเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา (..๒๔๓๒-๒๔๖๗)
. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย (..๒๔๓๕-๒๔๖๖)
. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (..๒๔๓๖-๒๔๘๔)
เสวยราชสมบัติเมื่อวันเสาร์ที่ ๒๓ ตุลาคม ปีจอ พุทธศักราช ๒๔๕๓ และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.. ๒๔๖๘ รวมพระชนมพรรษา ๔๖ พรรษา เสด็จดำรงราชสมบัติรวม ๑๖ ปี ทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาเมื่อเสด็จสวรรคตแล้วว่า "สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า" พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ในพระราชวงศ์จักรีพระองค์แรกที่ไม่มีวัดประจำรัชกาลในเรื่องหัวใจชายหนุ่มนี้ พระองค์ได้ใช้พระนามแฝงว่ารามจิตติได้ลงพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์ดุสิตสมิตรายเดือนเมื่อ พ.. ๒๔๖๔ และ พ.. ๒๕๑๕ ได้รับยกย่องจากองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหชาติให้ทรงเป็น ๑ ใน ๕ ของนักปราชญ์ของไทย

เกี่ยวกับผู้ทรงพระราชนิพนธ์
- เป็นบทพระราชนิพนธ์ของรัชการที่ ๖ ทรงใช้นามปากกาว่ารามจิตติ
- ทรงเป็นพระโอรสของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระนามเดิม คือ สมเด็จพระเข้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ
- ทรงได้รับนามสามัญว่าพระมหาธีระราชเจ้าแปลว่า นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่
- ทรงคัดเลือกจดหมายฉบับที่น่าอ่าน ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ดุสิตสมิต ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์

ด้านการศึกษา
- ได้ทรงริเริ่มสร้างโรงเรียนขึ้นแทนวัดประจำรัชกาล ได้แก่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯสถาปนาเป็นโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ในระดับอุดมศึกษา เมื่อปี พ..๒๔๕๙ ได้ทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯยกฐานะโรงเรียนข้าราชการพลเรือน
- ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นับเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย

ด้านการเศรษฐกิจ - ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติคลังออมสินพุทธศักราช ๒๔๕๖ ขึ้น เพื่อให้ประชาชนรู้จักออมทรัพย์และเพื่อความมั่นคงในด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทรงริเริ่มก่อตั้ง
บริษัทปูนซิเมนต์ไทยขึ้น

ด้านการคมนาคม- ได้ทรงปรับปรุงและขยายงานกิจการรถไฟ เริ่มตั้งแต่ ปี พ.. ๒๔๖๐ ทรงตั้งกรมรถไฟหลวง และเริ่มเปิดการเดินรถไฟสายกรุงเทพฯ ถึงเชียงใหม่ สายใต้จากธนบุรีถึงไปเชื่อมกับปีนังและสิงคโปร์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานพระราม ๖ เพี่อเชื่อมทางรถไฟในพระราชอาณาจักร

ด้านศิลปวัฒนธรรมไทย
- ทรงโปรดศิลปะการแสดงโขน ละคร จึงได้ทรงตั้งกรมมหรสพ ขึ้นเพื่อฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมไท และยังได้ทรงสร้างโรงละครหลวงไว้ในพระราชวังทุกแห่ง นอกจากนี้ ยังทรงสนพระราชหฤทัยด้านจิตรกรรม สถาปัตยกรรมไทย

ด้านการต่างประเทศ
- พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระบรมราช-โองการประกาศสงครามกับประเทศฝ่ายเยอรมัน ซึ่งประกอบด้วย ออสเตรีย ฮังการี บัลกาเรีย และตุรกี ซึ่งเป็นกลุ่มมหาอำนาจกลาง โดยประเทศไทยได้เข้าร่วมกับประเทศฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งประกอบด้วยประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซียเป็นผู้นำ เมื่อวันที่ ๒๒ กรกฏาคม พ..๒๔๖๐ พร้อมทั้งได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ส่งทหารไทยอาสาสมัครไปร่วมรบในสมรภูมิยุโรปด้วย ผลของสงครามประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรได้ชัยชนะ ทำให้ประเทศไทยมีโอกาสเจรจากับประเทศมหาอำนาจหลายประเทศ ขอแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม คือ สนธิสัญญาสิทธิสภาพนอกอาณาเขต และสนธิสัญญาจำกัดอำนาจการเก็บภาษีของประเทศไทย

ด้านการแพทย์และการสาธารณสุข
- ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และวชิรพยาบาลและได้เสด็จฯ ไปทรงเปิดสถานเสาวภาเมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม พ..๒๔๖๕ และทรงเปิดการประปากรุงเทพฯ เมื่อ วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.. ๒๔๕๗

ด้านกิจการเสือป่าและลูกเสือ
- ได้ทรงจัดตั้ง กองเสือป่า ขึ้นเมื่อ วันเสาร์ที่ ๖ พฤษภาคม พ.. ๒๔๕๔ และทรงจัดตั้งกองลูกเสือกองแรกขึ้นที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวงคือ โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบัน

ด้านการฝึกสอนระบอบประชาธิปไตย - ทรงได้ศึกษาวิชาการปกครองระบอบนี้มาจากประเทศอังกฤษ ได้ทรงทดลองตั้ง เมืองมัง หลังพระตำหนักจิตรลดาเดิม ทรงจัดให้เมืองมัง มีระบอบการปกครองของตนเอง ตามวิถีทางประชาธิปไตย รวมถึงเมืองจำลอง ดุสิตธานี ในพระราชวังดุสิต ซึ่งต่อมาทรงย้ายไปพระราชวังพญาไท
ด้านวรรณกรรมและหนังสือพิมพ์ - ได้ทรงเริ่มงานประพันธ์ตั้งแต่ทรงศึกษาอยู่ ณ ประเทศอังกฤษ พระราชนิพนธ์ของพระองค์มีทุกประเภท ตั้งแต่ โขน ละคร พระราชดำรัส พระบรมราชานุศาสนีย์ เทศนาปลุกใจเสือป่า นิทาน มีทั้งภาษาไทย อังกฤษและฝรั่งเศส ซึ่งเต็มไปด้วย ข้อคิดและคำคม วรรณกรรมของพระองค์ท่านจะสอนให้รักชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ทรงส่งเสริมให้มีการแต่งหนังสือ โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติวรรณคดีสโมสร พระราชนิพนธ์ที่ได้รับการพิจารณายกย่อง คือ หัวใจนักรบ ด้านละครพูด มัทนะพาธาด้านคำฉันท์และพระนลคำหลวง ด้านกวีนิพนธ์ องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(ยูเนสโก) ก็ได้ยกย่องพระเกียรติคุณของพระองค์ท่านในฐานะที่ทรงเป็นทั้ง นักประพันธ์ กวี และนักแต่งบทละคร ได้ทรงเป็นปราชญ์สยามคนที่ ๕ ประชาชนได้ถวายพระราชสมัญญานามว่าสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า สำหรับด้านงานหนังสือพิมพ์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตรา พระราชบัญญัติสมุด เอกสาร พ.. ๒๔๖๕ ขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น