ตัววิ่ง
Welcome to Thai language blog ^^
หน้าหลัก
ภาษาไทย
ภาษาอังกฤษ
สังคมศึกษา
English
วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
การอ่านบทอาขยาน
การอ่านบทอาขยานตามหลักการทั่วไป
การอ่านบทอาขยานส่วนใหญ่เป็นการอ่านออกเสียง คือ ผู้อ่านเปล่งเสียงออกมาดังๆ ในขณะที่ใช้สายตากวาดไปตามตัวอักษร ยึดหลักการอ่านออกเสียงเหมือนหลักการอ่านทั่วไป เพื่อให้การอ่านออกเสียงมีประสิทธิภาพควรฝึกฝน ดังนี้
๑. กวาดสายตาจากคำต้นวรรคไปยังท้ายวรรค และเคลื่อนสายตาไปยังวรรคถัดไปอย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องส่ายหน้าตามไป เพื่อเป็นการอ่านล่วงหน้า ทำให้การอ่านออกเสียงต่อเนื่องกันไปโดนไม่สะดุด ซะงัก
๒. ฝึกเปล่งเสียงให้ดังพอประมาณโดยพิจารณาถึงกลุ่มผู้ฟังและสถานที่ แต่ไม่ตะโกนควรบังคับเสียง เน้นเสียง ปรับระดับเสียงสูง - ต่ำ ให้สอดคล้องกับจังหวะลีลา ท่วงทำนอง และความหมายของเนื้อหาที่อ่าน
๓. อ่านด้วยเสียงที่ชัดเจน แจ่มใส ไพเราะ มีกระแสเสียงเดียว ไม่แตกพร่า เปล่งเสียงจากลำคอโดยตรงด้วยความมั่นใจ
๔. ควรทรงตัวและรักษาอากัปกิริยาให้ถูกวิธี จะช่วยให้ระบบกล้ามเนื้อต่างๆ ทำงานประสานกัน ทำให้เปล่งเสียงได้ดี มีท่วงท่าน่าเชื่อถือ ลักษณะการทรงตัวที่ถูกวิธีคือ ไม่ว่าจะยืนหรือนั่งอ่าน ลำตัวต้องตั้งตรง และอยู่ในอาการสมดุล ควรถือบทหรือหนังสือห่างจากสายตาประมาณหนึ่งฟุต ขณะอ่านพยายามให้ลำคอตั้งตรง เงยหน้าเล็กน้อย สบตากับคนฟังเป็นระยะๆ
๕. อ่านออกเสียงให้ถูกอักขรวิธีหรือความนิยม และต้องเข้าใจเนื้อหาของบทอาขยานนี้ก่อน
๖. อ่านออกเสียง ร ล คำควบกล้ำ ให้ถูกต้องชัดเจน
๗. อ่านให้ถูกจังหวะและวรรคตอน
๘. พยายามอ่านให้ได้อารมณ์และความรู้สึกตามเนื้อหา
การอ่านบทอาขยานเป็นทำนองเสนาะ
การอ่านบทอาขยานเป็นทำนองเสนาะช่วยให้บทอาขยานนั้นมีความไพเราะ นักเรียนเกิดความสนใจจดจำบทอาขยานได้ดี และสนุกสนานยิ่งขึ้น การฝึกอ่านทำนองเสนาะมีขั้นตอนดังนี้
๑. อ่านเป็นร้อยแก้วธรรมดาให้ถูกต้องชัดเจน ตามอักขรวิธีก่อน ทั้ง ร , ล ตัวควบกล้ำ อ่านออกเสียงให้ตรงตามเสียงวรรณยุกต์
๒. อ่านให้ถูกจังหวะวรรคตอน การอ่านผิดวรรคตอนทำให้เสียความ
๓. อ่านให้สัมผัสคล้องจองกันเพื่อความไพเราะ
๔. อ่านให้ถูกทำนองและลีลาของคำประพันธ์แต่ละชนิด คำประพันธ์แต่ละชนิดจะมีบังคับจำนวนคำสัมผัส หรือคำเอก คำโท แตกต่างกัน การอ่านทำนองเสนาะจึงต้องอ่านให้ถูกท่วงทำนองและลีลาของคำประพันธ์แต่ละชนิด
๕. อ่านโดยใช้น้ำเสียงให้เหมาะสมกับเนื้อหาและอ่านพยางค์สุดท้ายของวรรคด้วยการทอดเสียง แล้วปล่อยให้หางเสียงผวนขึ้นจมูก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
บทความใหม่กว่า
บทความที่เก่ากว่า
หน้าแรก
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น