Playboy Bunny

วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ตัวชี้วัด

ตัวชี้วัด
. อ่านออกเสียงร้อยแก้วร้อยกรองให้ถูกต้อง และเหมาะสม
. ตีความแปลความและขยายความที่อ่าน
. วิเคราะห์วิจารณ์เรื่องที่อ่าน
. ประเมินค่าเรื่องที่อ่านและนำมาใช้ในชีวิตจริง
. แสดงความคิดเห็น โต้แย้ง และแสดงความคิดเห็นใหม่เกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
. ตอบคำถามเรื่องที่อ่าน
. มีมารยาทในการอ่าน
. เขียนสื่อสารได้ถูกต้อง ตามรูปแบบและใช้ภาษาได้ถูกต้อง
. เขียนเรียงความได้
๑๐. เขียนย่อความได้
๑๑. ประเมินงานเขียนของผู้อื่นและนำมาพัฒนางานเขียนของตน
๑๒. ผลิตงานเขียนของตนเอง ในรูปแบบต่างๆ
๑๓. เขียนรายงานการศึกษาค้นคว้าเชิงวิชาการ และใช้ข้อมูลสารสนเทศอ้างอิงได้ถูกต้อง
๑๔. บันทึกการศึกษาค้นคว้าเพื่อนำไปพัฒนาตนเองได้
๑๕. มีมารยาทในการเขียน
๑๖. ประเมินเรื่องที่ฟังและดูแล้วนำไปประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตจริง
๑๗. มีวิจารณญาณในที่เลือกและดู
๑๘. มีมารยาทในการฟังและการดูและการพูด
๑๙. พูดในโอกาสต่างๆ
๒๐. แต่งบทร้อยกรองได้ถูกต้องและเหมาะสม
๒๑. วิเคราะห์ทัศนะของภาษาต่างประเทศได้
๒๒. อธิบายวิเคราะห์หลักการสร้างคำในภาษาไทยได้
๒๓. วิเคราะห์ประเมินการใช้ สิ่งพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์
๒๔. วิเคราะห์วิจารณ์วรรณคดีวรรณกรรมหลักตามวิจารญาณเบื้องต้นได้
๒๕. วิเคราะห์ลักษณะเด่นของวรรณคดีเชื่อมโยงการเรียนรู้ต่อประวัติศาสตร์
๒๖. ประเมินคุณค่าด้านวัฒนธรรมได้
๒๗. สังเคราะห์ข้อคิดจากวรรณคดีวรรณกรรมและนำไปประยุกต์ใช้จริงได้
๒๘. ท่องจำและบอกคุณค่าบทอาขยานที่มีคุณค่าและนำไปใช้อ้างอิงได้

เรื่องหัวใจชายหนุ่ม

ประวัติผู้แต่งเรื่องหัวใจชายหนุ่ม
พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๖ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น ๒ ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ ๑ มกราคม พ.. ๒๔๒๓ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๒๙ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าองค์ที่ ๒ ในจำนวน ๙ พระองค์ที่ประสูติแต่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง พระราชสมภพเมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.. ๒๔๒๓ ณ พระที่นั่งในพระบรมมหาราชวังชั้นใน มีพระเชษฐภคินีและพระอนุชาร่วมพระมารดา คือ

. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัยกรมพระเทพนารีรัตน์(..๒๔๒๑-๒๔๓0)
. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (..๒๔๒๓-๒๔๖๘)
. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรง (..๒๔๒๔-๒๔๓0)
. จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ (..๒๔๒๕-๒๔๖๓)
. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ (.. ๒๔๒๘-๒๔๓0)
. พลเรือเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา (..๒๔๓๒-๒๔๖๗)
. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย (..๒๔๓๕-๒๔๖๖)
. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (..๒๔๓๖-๒๔๘๔)
เสวยราชสมบัติเมื่อวันเสาร์ที่ ๒๓ ตุลาคม ปีจอ พุทธศักราช ๒๔๕๓ และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.. ๒๔๖๘ รวมพระชนมพรรษา ๔๖ พรรษา เสด็จดำรงราชสมบัติรวม ๑๖ ปี ทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาเมื่อเสด็จสวรรคตแล้วว่า "สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า" พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ในพระราชวงศ์จักรีพระองค์แรกที่ไม่มีวัดประจำรัชกาลในเรื่องหัวใจชายหนุ่มนี้ พระองค์ได้ใช้พระนามแฝงว่ารามจิตติได้ลงพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์ดุสิตสมิตรายเดือนเมื่อ พ.. ๒๔๖๔ และ พ.. ๒๕๑๕ ได้รับยกย่องจากองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหชาติให้ทรงเป็น ๑ ใน ๕ ของนักปราชญ์ของไทย

เกี่ยวกับผู้ทรงพระราชนิพนธ์
- เป็นบทพระราชนิพนธ์ของรัชการที่ ๖ ทรงใช้นามปากกาว่ารามจิตติ
- ทรงเป็นพระโอรสของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระนามเดิม คือ สมเด็จพระเข้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ
- ทรงได้รับนามสามัญว่าพระมหาธีระราชเจ้าแปลว่า นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่
- ทรงคัดเลือกจดหมายฉบับที่น่าอ่าน ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ดุสิตสมิต ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์

ด้านการศึกษา
- ได้ทรงริเริ่มสร้างโรงเรียนขึ้นแทนวัดประจำรัชกาล ได้แก่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯสถาปนาเป็นโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ในระดับอุดมศึกษา เมื่อปี พ..๒๔๕๙ ได้ทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯยกฐานะโรงเรียนข้าราชการพลเรือน
- ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นับเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย

ด้านการเศรษฐกิจ - ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติคลังออมสินพุทธศักราช ๒๔๕๖ ขึ้น เพื่อให้ประชาชนรู้จักออมทรัพย์และเพื่อความมั่นคงในด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทรงริเริ่มก่อตั้ง
บริษัทปูนซิเมนต์ไทยขึ้น

ด้านการคมนาคม- ได้ทรงปรับปรุงและขยายงานกิจการรถไฟ เริ่มตั้งแต่ ปี พ.. ๒๔๖๐ ทรงตั้งกรมรถไฟหลวง และเริ่มเปิดการเดินรถไฟสายกรุงเทพฯ ถึงเชียงใหม่ สายใต้จากธนบุรีถึงไปเชื่อมกับปีนังและสิงคโปร์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานพระราม ๖ เพี่อเชื่อมทางรถไฟในพระราชอาณาจักร

ด้านศิลปวัฒนธรรมไทย
- ทรงโปรดศิลปะการแสดงโขน ละคร จึงได้ทรงตั้งกรมมหรสพ ขึ้นเพื่อฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมไท และยังได้ทรงสร้างโรงละครหลวงไว้ในพระราชวังทุกแห่ง นอกจากนี้ ยังทรงสนพระราชหฤทัยด้านจิตรกรรม สถาปัตยกรรมไทย

ด้านการต่างประเทศ
- พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระบรมราช-โองการประกาศสงครามกับประเทศฝ่ายเยอรมัน ซึ่งประกอบด้วย ออสเตรีย ฮังการี บัลกาเรีย และตุรกี ซึ่งเป็นกลุ่มมหาอำนาจกลาง โดยประเทศไทยได้เข้าร่วมกับประเทศฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งประกอบด้วยประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซียเป็นผู้นำ เมื่อวันที่ ๒๒ กรกฏาคม พ..๒๔๖๐ พร้อมทั้งได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ส่งทหารไทยอาสาสมัครไปร่วมรบในสมรภูมิยุโรปด้วย ผลของสงครามประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรได้ชัยชนะ ทำให้ประเทศไทยมีโอกาสเจรจากับประเทศมหาอำนาจหลายประเทศ ขอแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม คือ สนธิสัญญาสิทธิสภาพนอกอาณาเขต และสนธิสัญญาจำกัดอำนาจการเก็บภาษีของประเทศไทย

ด้านการแพทย์และการสาธารณสุข
- ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และวชิรพยาบาลและได้เสด็จฯ ไปทรงเปิดสถานเสาวภาเมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม พ..๒๔๖๕ และทรงเปิดการประปากรุงเทพฯ เมื่อ วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.. ๒๔๕๗

ด้านกิจการเสือป่าและลูกเสือ
- ได้ทรงจัดตั้ง กองเสือป่า ขึ้นเมื่อ วันเสาร์ที่ ๖ พฤษภาคม พ.. ๒๔๕๔ และทรงจัดตั้งกองลูกเสือกองแรกขึ้นที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวงคือ โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบัน

ด้านการฝึกสอนระบอบประชาธิปไตย - ทรงได้ศึกษาวิชาการปกครองระบอบนี้มาจากประเทศอังกฤษ ได้ทรงทดลองตั้ง เมืองมัง หลังพระตำหนักจิตรลดาเดิม ทรงจัดให้เมืองมัง มีระบอบการปกครองของตนเอง ตามวิถีทางประชาธิปไตย รวมถึงเมืองจำลอง ดุสิตธานี ในพระราชวังดุสิต ซึ่งต่อมาทรงย้ายไปพระราชวังพญาไท
ด้านวรรณกรรมและหนังสือพิมพ์ - ได้ทรงเริ่มงานประพันธ์ตั้งแต่ทรงศึกษาอยู่ ณ ประเทศอังกฤษ พระราชนิพนธ์ของพระองค์มีทุกประเภท ตั้งแต่ โขน ละคร พระราชดำรัส พระบรมราชานุศาสนีย์ เทศนาปลุกใจเสือป่า นิทาน มีทั้งภาษาไทย อังกฤษและฝรั่งเศส ซึ่งเต็มไปด้วย ข้อคิดและคำคม วรรณกรรมของพระองค์ท่านจะสอนให้รักชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ทรงส่งเสริมให้มีการแต่งหนังสือ โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติวรรณคดีสโมสร พระราชนิพนธ์ที่ได้รับการพิจารณายกย่อง คือ หัวใจนักรบ ด้านละครพูด มัทนะพาธาด้านคำฉันท์และพระนลคำหลวง ด้านกวีนิพนธ์ องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(ยูเนสโก) ก็ได้ยกย่องพระเกียรติคุณของพระองค์ท่านในฐานะที่ทรงเป็นทั้ง นักประพันธ์ กวี และนักแต่งบทละคร ได้ทรงเป็นปราชญ์สยามคนที่ ๕ ประชาชนได้ถวายพระราชสมัญญานามว่าสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า สำหรับด้านงานหนังสือพิมพ์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตรา พระราชบัญญัติสมุด เอกสาร พ.. ๒๔๖๕ ขึ้น

วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การอ่านบทอาขยาน

การอ่านบทอาขยานตามหลักการทั่วไป

      การอ่านบทอาขยานส่วนใหญ่เป็นการอ่านออกเสียง คือ ผู้อ่านเปล่งเสียงออกมาดังๆ ในขณะที่ใช้สายตากวาดไปตามตัวอักษร ยึดหลักการอ่านออกเสียงเหมือนหลักการอ่านทั่วไป เพื่อให้การอ่านออกเสียงมีประสิทธิภาพควรฝึกฝน ดังนี้

      ๑. กวาดสายตาจากคำต้นวรรคไปยังท้ายวรรค และเคลื่อนสายตาไปยังวรรคถัดไปอย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องส่ายหน้าตามไป เพื่อเป็นการอ่านล่วงหน้า ทำให้การอ่านออกเสียงต่อเนื่องกันไปโดนไม่สะดุด ซะงัก

      ๒. ฝึกเปล่งเสียงให้ดังพอประมาณโดยพิจารณาถึงกลุ่มผู้ฟังและสถานที่ แต่ไม่ตะโกนควรบังคับเสียง เน้นเสียง ปรับระดับเสียงสูง - ต่ำ ให้สอดคล้องกับจังหวะลีลา ท่วงทำนอง และความหมายของเนื้อหาที่อ่าน

      ๓. อ่านด้วยเสียงที่ชัดเจน แจ่มใส ไพเราะ มีกระแสเสียงเดียว ไม่แตกพร่า เปล่งเสียงจากลำคอโดยตรงด้วยความมั่นใจ

      ๔. ควรทรงตัวและรักษาอากัปกิริยาให้ถูกวิธี จะช่วยให้ระบบกล้ามเนื้อต่างๆ ทำงานประสานกัน ทำให้เปล่งเสียงได้ดี มีท่วงท่าน่าเชื่อถือ ลักษณะการทรงตัวที่ถูกวิธีคือ ไม่ว่าจะยืนหรือนั่งอ่าน ลำตัวต้องตั้งตรง และอยู่ในอาการสมดุล ควรถือบทหรือหนังสือห่างจากสายตาประมาณหนึ่งฟุต ขณะอ่านพยายามให้ลำคอตั้งตรง เงยหน้าเล็กน้อย สบตากับคนฟังเป็นระยะๆ

      ๕. อ่านออกเสียงให้ถูกอักขรวิธีหรือความนิยม และต้องเข้าใจเนื้อหาของบทอาขยานนี้ก่อน

      ๖. อ่านออกเสียง ร ล คำควบกล้ำ ให้ถูกต้องชัดเจน

      ๗. อ่านให้ถูกจังหวะและวรรคตอน

      ๘. พยายามอ่านให้ได้อารมณ์และความรู้สึกตามเนื้อหา

การอ่านบทอาขยานเป็นทำนองเสนาะ

      การอ่านบทอาขยานเป็นทำนองเสนาะช่วยให้บทอาขยานนั้นมีความไพเราะ นักเรียนเกิดความสนใจจดจำบทอาขยานได้ดี และสนุกสนานยิ่งขึ้น การฝึกอ่านทำนองเสนาะมีขั้นตอนดังนี้

      ๑. อ่านเป็นร้อยแก้วธรรมดาให้ถูกต้องชัดเจน ตามอักขรวิธีก่อน ทั้ง ร , ล ตัวควบกล้ำ อ่านออกเสียงให้ตรงตามเสียงวรรณยุกต์

      ๒. อ่านให้ถูกจังหวะวรรคตอน การอ่านผิดวรรคตอนทำให้เสียความ

      ๓. อ่านให้สัมผัสคล้องจองกันเพื่อความไพเราะ

      ๔. อ่านให้ถูกทำนองและลีลาของคำประพันธ์แต่ละชนิด คำประพันธ์แต่ละชนิดจะมีบังคับจำนวนคำสัมผัส หรือคำเอก คำโท แตกต่างกัน การอ่านทำนองเสนาะจึงต้องอ่านให้ถูกท่วงทำนองและลีลาของคำประพันธ์แต่ละชนิด

      ๕. อ่านโดยใช้น้ำเสียงให้เหมาะสมกับเนื้อหาและอ่านพยางค์สุดท้ายของวรรคด้วยการทอดเสียง แล้วปล่อยให้หางเสียงผวนขึ้นจมูก

วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

มหาชาติหรือมหาเวสสันดรชาดก

มหาเวชสันดรชาดก  เป็นชาดกที่มีความสำคัญมากกว่าชาดกอื่น ๆ เพราะพระบารมีของพระโพธิสัตว์ได้บำเพ็ญบริบูรณ์ในพระชาตินี้ 
มหาเวสสันดรชาดกทั้ง 10 บารมี  คือ
   ๑.ทานบารมี 
ทรงบริจาคทรัพย์สิน  ช้าง  ม้า  ราชรถ  พระกุมารทั้งสองและพระมเหสี
   ๒.ศีลบารมี 
ทรงรักษาศีลอย่างเคร่งครัดระหว่างทรงผนวชอยู่ ณ เขาวงกต
   ๓.เนกขัมมบารมี 
ทรงครองเพศบรรพชิตตลอดเวลาที่ประทับ ณ เขาวงกต
   ๔.ปัญญาบารมี 
ทรงบำเพ็ญภาวนามัยปัญญาตลอดเวลาที่ทรงผนวช
   ๕.วิริยาบารมี  
 ทรงปฏิบัติมิได้ย่อหย่อน
   ๖.สัจจบารมี 
ทรงลั่นพระวาจายกกุมารให้ชูชก  เมื่อพระกุมารหลบหนีก็ ทรงติดตามให้
   ๗.ขันติบารมี 
ทรงอดทนต่อความยากลำบากต่าง ๆ ขณะที่เดินทางมายังเขาวงกต  และตลอดเวลาที่ประทับ ณ ที่นั่น  แม้แต่ตอนที่ทอดพระเนตรเห็นชูชกเฆี่ยนตีพระกุมารอย่างทารุณพระองค์ก็ทรงข่มพระทัยไว้ได้
   ๘.เมตตาบารมี 
 เมื่อพราหมณ์เมืองกลิงคราษฎร์  มาทูลขอช้างปัจจัยนาค  เนื่องจากเมืองกลิงคราษฎร์ฝนแล้ง ก็ทรงพระเมตตตาประทานให้ และเมื่อชูชกมาทูลขอสองกุมาร อ้างว่าตนได้รับความลำบากต่างๆพระองค์ก็มีเมตตาประทานให้ด้วย
   ๙.อุเบกขาบารมี 
เมื่อทรงเห็นสองกุมารถูกชูชกเฆี่ยนตี วิงวอนให้พระองค์ช่วยเหลือทรงบำเพ็ญอุเบกขา  คือทรงวางเฉย  เพราะทรงเห็นว่าได้ประทานเป็นสิทธิ์ขาดแก่ชูชกไปแล้ว
   ๑๐.อธิษฐานบารมี 
ทรงตั้งมั่นที่จะบำเพ็ญบารมีเพื่อให้สำเร็จโพธิญาณาเบื้องหน้าก็มิได้ทรงย่อท้อ จนพระอินทร์ต้องประทานความช่วยเหลือต่าง ๆ เพราะพระทัยอันแน่วแน่ของพระองค์
 

วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

มงคลสูตรคำฉันท์

       มงคลสูตรคำฉันท์ เป็นวรรณคดี คำสอน ผลงานพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงนำหลักธรรม ที่เป็นพระคาถาบาลีจากพระไตรปิฏกตั้งแล้วแปลถอดความเป็นคำประพันธ์ที่ไพเราะ มีความงดงามทั้งด้านเสียงและความหมาย สามารถจดจำได้ง่าย มงคลสูตรคำฉันท์นี้จะเกิดแต่ตัวเราเองได้ก็ต้องเป็นผลมาจากการประพฤติ ปฏิบัติดีของตนเองเท่านั้น หาได้มาจากปัจจัยอื่นเลย

       ผู้ทรงพระ ราชนิพนธ์ คือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ เมื่อ พ.ศ.2466

       ลักษณะคำประพันธ์  กาพย์ฉบัง 16 และอินทรวิเชียรฉันท์ 11 แทรกคาถาบาลี

       เนื้อเรื่องย่อ พระอานนท์ เป็นผู้เล่าว่า พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่วัดเชตวันวิหาร ซึ่งอนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างถวาย ตอนประถมยาม มีเทวดารัศมีเจิดจ้ามาเข้าเผ้าพระพุทธองค์ ทูลถามถึงเรื่องมงคลพระพุทธเจ้าจึงตรัสเทศนาถึงมงคล 38 ประการ เทวดาและมนุษย์ผู้ปฎิบัติตาม จะเป็นผู้ประเสริฐ ไม่แพ้ในที่ใดๆ ได้รับความเจริญสวัสดีทุกประการ

จุดมุ่งหมายในการแต่ง         
       เพื่อให้ตระหนักว่าสิริมงคลจะเกิดแก่ผู้ใดก็เพียงผลมาจากการปฏิบัติของตนทั้งสิ้นไม่มีผู้ใดหรือสิ่งใดจะทำให้เกิดสิริมงคลแก่เราได้  นอกจากตัวเราเอง

แนวคิดสำคัญ         

       ความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต เกิดจากการประพฤติปฏิบัติของตนเองทั้งสิ้น หาได้เกิดจากผู้อื่น สิ่งอื่น หรือวัตถุโชคลางใดๆ จากภายนอก

คุณค่าที่ได้รับจากการอ่าน
1. ได้ทราบวิธีปฏิบัติตนเพื่อความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต
2. มีคุณค่าทางด้านสังคม เพราะข้อปฏิบัติทุกข้อในมงคลสูตรล้วนมีค่าควรประพฤติปฏิบัติ ซึ่งจะทำให้บุคคลและสังคมเจริญก้าวหน้า
3. ได้ศึกษาภาษากวีนิพนธ์ที่สละสลวย ไพเราะทั้งถ้อยคำและเนื้อความ

วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ทุกข์ของชาวนาในบทกวี

บทความเรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี มีที่มาจากหนังสือรวบรวมบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่อง มณีพลอยร้อยแสง ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดฯให้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2533 ในวโรกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ โดย นิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประวัติผู้แต่ง
             สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามราชกุมารี ทรงประกอบพระราชกรณียกิจหลายประการ ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมร้อยแก้ว ร้อยกรอง และงานแปล ในงานพระราชนิพนธ์แต่ละเรื่อง พระองค์จะใช้นามแฝงที่แตกต่างกันไป เช่น ก้อนหิน แว่นแก้ว หนูน้อย เป็นต้น
             นอกจากนี้ยังทรงประกอบพระราชกรณียกิจในด้านการศึกษา  การพัฒนาสังคม โดยมีโครงการในพระราชดำริส่วนพระองค์หลายโครงการ
ลักษณะคำประพันธ์
             ทุกข์ของชาวนาในบทกวี เป็นบทความแสดงความคิดเห็น ซึ่งเป็นบทความที่มีจุดมุ่งหมายที่จะแสดงความคิดเห็นในประเด็นใดประเด็นหนึ่ง  ความคิดเห็นที่มานำเสนอได้มาจากการวิเคราะห์ การใช้วิจารณญาณไตร่ตรองของผู้เขียน โดยผ่านการ สำรวจปัญหา ที่มาของเรื่อง และข้อมูลต่างๆ อย่างละเอียดความคิดเห็นที่นำเสนออาจจะเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาตามทัศนะของผู้เขียนหรือการโต้แย้งความคิดเห็นของผู้อื่นมาก่อน
เรื่องย่อ
เนื้อความในตอนแรกของบทความเรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี สมเด็จพระเทพพระรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้ทรงยกบทกวีของ จิตร ภูมิศักดิ์ซึ่งกล่าวถึงชีวิตและความทุกข์ยากของชาวนา

เนื้อเรื่อง
ทุกข์ของชาวนาในบทกวี
เปิบข้าวทุกคราวคำ              จงสูจำเป็นอาจิณ
เหงื่อกูที่สูกิน                                 จึงก่อเกิดมาเป็นคน
ข้าวนี้น่ะมีรส                        ให้ชนชิมทุกชั้นชน
เบื้องหลังสิทุกข์ทน                        และขมขื่นจนเขียวคาว
จากแรงมาเป็นรวง              ระยะทางนั้นเหยียดยาว
จากรวงเป็นเม็ดพราว                      ล้วนทุกข์ยากลำเค็ญเข็ญ
เหงื่อหยดสักกี่หยาด            ทุกหยดหยาดล้วนยากเย็น
ปูดปูนกี่เส้นเอ็น                              จึงแปรรวงมาเปิบกิน
น้ำเหงื่อที่เรื่อแดง                 และน้ำแรงอันหลั่งริน
สายเลือดกูทั้งสิ้น                             ที่สูซดกำซาบฟัน
(จิตร ภูมิศักดิ์)


ต่อมาพระองค์ได้ทรงอ่านบทกวีของชาวจีบบทหนึ่ง มีใจความว่า

หว่านข้าวในฤดูใบไม่ผลิ  ข้าวเมล็ดหนึ่ง
จะกลายเป็นหมื่นเมล็ดในฤดูใบไม้ร่วง
รอบข้างไม่มีนาที่ไหนทิ้งว่าง
แต่ชาวนาก็ยังอดตาย
ตอนอาทิตย์เที่ยงวัน  ชาวนายังพรวนดิน
เหงื่อหยดบนดินภายใต้จ้นข้าว
ใครจะรู้บ้างว่าในจานใบนั้น
ข้าวแต่ละเม็ดคือความยากแค้นแสนสาหัส
                                                      (หลี่เชิน)

กำซาบ
ซึมเข้าไป
เขียวคาว
สีเขียวของข้าว
ธัญพืช
ธัญพืชที่ให้เมล็ดเป็นหลัก เช่น ข้าว ข้าวสาลี ข้าวโพด เป็นต้น
ประกันราคา
รับประกันที่จะรับซื้อผลผลิตตามราคาที่ได้กำหนดไว้ในอนาคต
เปิบ
วิธีการใช้นิ้วทั้งห้าหยิบข้าวใส่ปาก
ภาคบริการ
อาชีพที่ให้บริการผู้อื่น
ลำเลิก
กล่าวทวงบุญคุณ
สวัสดิการ
การให้สิ่งเอื้ออำนวย
สู
สรรพนามบุรุษที่2 เป็นคำโบราณ
อาจิณ
ประจำ

วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

หัวใจชายหนุ่ม

เรื่องหัวใจชายหนุ่มชี้ให้เห็นถึง การแต่งงานของคนหนุ่มสาวที่มาจากการชอบพอกับเพียงแต่เปลือกนอก ขาดการรู้จัก และ เข้าใจกันอย่างแท้จริงย่อมไม่ยั่งยืน และ จบลงอย่างง่ายดาย ส่วนเรื่องของแม่อุไรนั้น ชี้ให้วัยรุ่นสมัยใหม่รู้จักการใช้เสรีภาพในทางที่ถูกต้อง ไม่ปล่อยเนื้อปล่อยตัวจนกระทั่งพลาดพลั้งชิงสุกก่อนห่าม



เรื่องหัวใจชายหนุ่มลงพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์ดุสิตสมิต ซึ่งเป็นหนังสือพืมพ์รายสัปดาห์
ผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวใช้นามปากกาว่า “รามจิตติ”

ลักษณะการแต่ง          แต่งแบบบันเทิงคดี โดยใช้การเขียนจดหมายเล่าเรื่องเป็นตอนๆต่อเนื่องกันไป เป็นจด ๑๘ ฉบับ
เรื่องย่อ นายประพันธ์เป็นนักเรียนนอกเรียนจบจากอังกฤษ มีความนิยมวัฒนธรรมผรั่ง ชื่นชมผู้หญิงสมัยใหม่จนได้แต่งงานกับผู้หญิงทันสมัย ที่ขาดคุณสมบัติขิงภรรยาที่ดี ชีวิตประสบอุปสรรคแต่ในที่สุดปัญหาต่างๆก็คลี่คลายไป


เนื้อเรื่องย่อ           นายประพันธ์เขียนจดหมายถึงนายประเสริฐซึ่งเป็นเพื่อนรักของเขา นายประพันธ์เป็นนักเรียนนอกจากประเทศอังกฤษ เมื่อกลับมาถึงเมืองไทย พ่อของเขาหวังจะให้แต่งงานกับแม่กิมเน้ย แต่ประพันธ์ไม่ชอบใจการแต่งตัวของหล่อนที่ประดับประดามากเกินไปและดูเกินงาม จนทำให้เขาปลีกตัวออกไปจากการคลุมถุงชนจนได้พบกับแม่อุไร ซึ่งเป็นหญิงสาวหัวนอกด้านวัฒนธรรมตะวันตกเช่นเดียวกับประพันธ์ ทั้งสองถูกคอกัน มักพากันเที่ยวเตร่สม่ำเสมอ จนในที่สุดเกิดได้เสียกันจนแม่อุไรตั้งครรภ์ จึงจำเป็นต้องแต่งงานกันบนความไม่พอใจของผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่าย แต่เมื่อแต่งงานไปนานๆ นิสัยของแม่อุไรได้เปลี่ยนไป ชอบข่มสามีต่อหน้าคนอื่น หยาบกระด้าง ไร้ซึ่งมารยาท จนหนักเข้าเธอเริ่มเหินห่างประพันธ์ไปคบกับพระยาตระเวนนคร เสือผู้หญิงที่ประสงค์ได้ผู้หญิงคนไหนย่อมได้ทุกครั้งไป รวมถึงแม่อุไรที่ต้องหย่ากับประพันธ์ด้วยหวังว่าพระยาตระเวนนครจะให้เกียรติเธอราวภรรยาคนสำคัญ แต่กลับตาลปัตรทางรักของแม่อุไรพังลงเมื่อพระยาตระเวนนครมีหญิงคนใหม่ เธอจึงกลับมาขอคืนดีกับประพันธ์ แต่ถูกปฏิเสธ จนเหตุการณ์ต่างๆ ผ่านชีวิตของนายประพันธ์ไป ทำให้เขาเริ่มคิดได้ว่าบางทีการดำเนินชีวิตแบบชาวตะวันตกนั้นมิสามารถใช้ได้กับวิถีแห่งความเป็นไทย ในที่สุดเขาได้พบกับนางสาวศรีสมาน หญิงสาวผู้ที่เขาคิดว่าจะเยียวยา และบำรุงชีวิตของเขาให้ฟื้นคืนมาได้ ส่วนแม่อุไรก็ได้พบรักกับหลวงพิเศษผลพานิช พ่อค้าผู้มั่งมี แม้หน้าตาของเขาจะมิได้หล่อเหลา แต่มีเงินมากพอที่จะซื้อความสุขให้กับแม่อุไรได้เช่นกัน

ข้อคิดคติธรรม
1. พฤติกรรมของนายประพันธ์เป็นพฤติกรรมที่เลียนแบบพฤติกรรมของปุถุชนที่มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ทั้งความถูกต้องและผิดพลาด เปรียบเสมือนกับมนุษย์ที่สามารถผิดพลาดได้ตลอดเวลา แต่อย่าลืมนำความผิดพลาดนั้นมาใช้ในการแก้ไขตนเอง และปรับทัศนคติที่ผิดอยู่ให้ดีขึ้น จนสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุขต่อไป
 2. อย่าหลงวัฒนธรรมตะวันตกจนลืมจิตสำนึกแห่งความเป็นไทย ควรเก็บสิ่งที่ดีมาปฏิบัติ แล้วเก็บสิ่งที่ไม่ดีไว้เป็นอุทาหรณ์ ขณะเดียวกันก็อย่าดูถูกบ้านเกิดเมืองนอนว่าหัวโบราณ เก่าคร่ำครึ เพราะวัฒนธรรมที่ดีงามของไทยนี้แลจึงสามารถจรรโลงประเทศให้อยู่ได้มาสืบทุกวันนี้
 3. การแต่งงานของหนุ่มสาวที่มาจากการชอบพอกันแค่เพียงเปลือกนอก ขาดการรู้จักและเข้าใจกันอย่างแท้จริงย่อมไม่ยั่งยืนและอับปางลงอย่างง่ายดาย เช่นกรณีของประพันธ์ และแม่อุไรที่รักเร็วใจเร็ว ทำให้ความรักนั้นจบลงในเวลาอันสั้น
 4. การใช้เสรีภาพในทางที่ผิดโดยปล่อยเนื้อปล่อยตัวจนกระทั่งพลาดพลั้งชิงสุกก่อนห่ามจะต้องประสบชะตากรรมอันเลวร้าย ดังแม่อุไรที่ปล่อยตัวได้เสียกับประพันธ์ทำให้ไม่เป็นที่พอใจของผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่าย นำไปสู่การหย่าร้างกันวันข้างหน้า
 5. คนเราควรดำเนินชีวิตในทางยุติธรรม ดังเช่นประพันธ์ เขาไม่ชอบการใช้เส้นสาย แต่ไม่สามารถหางานได้ด้วยตนเอง จึงต้องยอมรับงานที่ผู้ใหญ่ฝากฝังให้ แต่ก็ได้ใช้ความสามารถของตนเองทำให้มีความก้าวหน้าในราชการ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงบริบาลบรมศักดิ์ในที่สุด